งานวิจัยและผลงาน

บุคลากรและเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

Article

การศึกษาปัจจัยที่มีผลให้ผู้ป่วยที่นอนรักษาในห้องสังเกตอาการระยะสั้น (Observe Unit: OU) ของแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ต้องย้ายไปรักษาเป็นผู้ป่วยใน (Inpatient Department: IPD ) แผนกต่าง ๆ

บทนำ: ห้องสังเกตอาการระยะสั้นเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มาตรวจที่ห้องฉุกเฉิน ต้องการระยะเวลาสั้นๆ ในการรักษาควรเป็นกลุ่มโรคหรืออาการที่ไม่รุนแรง จำหน่ายกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่พบว่าผู้ป่วยบางรายอาการแย่ลงจนต้องย้ายไปแผนกผู้ป่วยใน และมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลให้ผู้ป่วยในห้องสังเกตอาการระยะสั้นของแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ต้องย้ายไปรักษาเป็นผู้ป่วยในแผนกต่าง ๆ
วัสดุและวิธีการศึกษา: ศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา  โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารักษาในห้องสังเกตอาการระยะสั้น(OU) แล้วต้องย้ายไปเป็นผู้ป่วยใน(IPD) ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2562 ถึง 19 เมษายน พ.ศ. 2563
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 1,086 คน มี 196 คน (18%) ต้องย้ายเข้ารับการรักษาที่ IPD ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการที่ผู้ป่วยต้องย้ายแผนก คือระดับความรุนแรงจากการ triage level emergency และ urgency กลุ่มอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุ อาการปวดท้องที่ไม่ทราบสาเหตุ และกระเพาะอาหารอักเสบ (p=0.001, 0.022, 0.043 และ 0.021 ตามลำดับ) ส่วนโรคหรืออาการที่เป็นสาเหตุของการย้ายมากที่สุดได้แก่กลุ่มอาการไข้ไม่ทราบสาเหตุ (30.1%), กลุ่มอาการถ่ายเหลวและสำไส้อักเสบ (18.3%)และอาการปวดท้องที่ไม่ทราบสาเหตุ (13.7%) ตามลำดับ
สรุป: ระดับความรุนแรงของการคัดแยกผู้ป่วยแรกรับที่ห้องฉุกเฉิน (triage level) ในระดับ emergency และurgency อาการไข้ไม่ทราบสาเหตุ อาการปวดท้องที่ไม่ทราบสาเหตุ และกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการที่ผู้ป่วยต้องย้ายแผนก

กฤตยา ณ เพ็ชรวิจารณ์

มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 
30 มิถุนายน 2021;5(1):13-24.

Link
Article

ความสำเร็จและภาวะแทรกซ้อนของการใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบรวดเร็วโดยใช้ยานำสลบและยาคลายกล้ามเนื้อ (Rapid sequence intubation : RSI) ในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

บทนำ: การใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจเป็นหัตถการที่พบบ่อยในห้องฉุกเฉิน ซึ่งเป็นหัตถการที่เร่งด่วนและทำให้เกิดผลแทรกซ้อนได้มาก ปัจจุบันการใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบรวดเร็วโดยใช้ยานำสลบและยาคลายกล้ามเนื้อ (Rapid sequence intubation (RSI)) ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการใส่ท่อหลอดลมคอและลดภาวะแทรกซ้อนได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลสำเร็จและภาวะแทรกซ้อนของการใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบ RSI ในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective descriptive study) โดยการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มีการใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบ RSI ในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 19 ราย มาดูผลสำเร็จและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 19 ราย เป็นเพศชายทั้งหมด (ร้อยละ 100) อายุ 36 - 84 ปี อายุเฉลี่ย 65 ปี เป็นโรคภาวะกำเริบเฉียบพลันของโรคถุงลมโป่งพอง 12 ราย (ร้อยละ 63.2) ปอดติดเชื้อ 4 ราย (ร้อยละ 21.1) อื่น ๆ 3 ราย (ร้อยละ 15.7) ผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบ RSI พบอัตราการใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจสำเร็จในครั้งเดียว 100% และทุกรายไม่มีผลแทรกซ้อนจากการทำ RSI
สรุป: การใส่ท่อหลอดลมคอเพื่อช่วยหายใจแบบรวดเร็วโดยใช้ยานำสลบและยาคลายกล้ามเนื้อ ในโรงพยาบาลศูนย์ภายใต้ผู้เชี่ยวชาญมีความปลอดภัยและอัตราสำเร็จสูง

พงศ์ธร จันทเตมีย์, 
กฤตยา ณ เพ็ชรวิจารณ์, 
นภัส ลาวัณย์ทักษิณ

มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร.
1 มกราคม 2021;4(2):9-14.

Link
Article

การศึกษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงโดยไม่ได้นัดหมาย ของแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

บทนำ การกลับมาตรวจรักษาซ้ำโดยไม่ได้นัดหมาย เป็นสัญญาณบ่งชี้เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และอาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา การทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นหนึ่งในวิธีการประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน
วัตถุประสงค์ ศึกษาความชุก อาการนำที่พบบ่อย และสาเหตุของการตรวจรักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงโดยไม่ได้นัดหมาย ของแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
วิธีการศึกษา : ศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2563 ถึง 31 มกราคม พ.ศ.2565 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาที่ห้องฉุกเฉินและกลับมาตรวจรักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่กลับมาตรวจรักษาซ้ำภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมงโดยไม่ได้นัดหมาย คิดเป็นร้อยละ 0.45 โดยส่วนใหญ่มาตรวจครั้งแรกนอกเวลาราชการและมากที่สุดในเวรดึก มาด้วยกลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบประสาท และการกลับมาตรวจรักษาซ้ำส่วนใหญ่มาจากสาเหตุการดำเนินโรคที่เปลี่ยนแปลงไป
สรุป : การกลับมาตรวจรักษาซ้ำโดยไม่ได้นัดหมาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการลดอัตราการกลับมาตรวจรักษาซ้ำ ต้องแก้ไขปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลากรทางการแพทย์ ปัจจัยด้านผู้ป่วย และปัจจัยด้านระบบการบริหารจัดการห้องฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และเพิ่มคุณภาพของห้องฉุกเฉิน

ณิชกานต์ บุญยก

มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร.
30 มิถุนายน 2023;7(1):42-54.

Link
Review

“เมื่อต้องทำงานเป็นกะ” กิน-นอน อย่างไรดี

การทำงานเป็นกะ (shift work) เป็นลักษณะงานที่พบในสถานที่ทำงานที่ต้องเปิดให้บริการ ตลอด 24 ชั่วโมง โรงพยาบาลก็เป็นสถานที่หนึ่งที่มีบุคลากรส่วนใหญ่ทำงานเป็นกะ ซึ่งเป็นการทำงานที่ไม่ตรงกับนาฬิกาชีวภาพ (Circadian rhythm) อันเป็นวงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ตามธรรมชาติ โดยเวลากลางวันจะต้องตื่นเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ และกลางคืนเป็นช่วงเวลาของการพักผ่อน การทำงานเป็นกะจึงส่งผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการนอนหลับ(1,2,8) หากผู้ที่ทำงานเป็นกะไม่สามารถบริหารจัดการเวลาและการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างเหมาะสม ก็จะเกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาและย่อมส่งผลถึงประสิทธิภาพในการทำงานด้วย

ณิชกานต์ บุญยก

มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 
30 มิถุนายน 2022;6(1):141-8.

Link
Short Communication

Rhabdomyolysis After Consumption of Freshwater Fish (Neolissochilus soroides)

Letters to the Editor

Maesaya Chartkul,
Krittaya Na Petvicharn, 
Thanutchaporn Kumrungsee, 
Thanjira Jiranantakan, 
Summon Chomchai

Wilderness Environ Med. 2021 Sep;32(3):410-413.

Link
Article

Appropriateness of recommended chest compression depths for cardiopulmonary resuscitation based on chest computed tomography parameters among Thai population: A multicenter retrospective study

Aim: We evaluated the appropriateness of various chest compression (CC) depths among Thai population by comparing the calculated heart compression fraction (HCF) using mathematical methods based on chest computed tomography (CT) measurements.
Methods: This multicenter retrospective cross-sectional study was conducted from September 2014 to December 2020. Chest parameters included external anteroposterior diameter (EAPD), internal anteroposterior diameter (IAPD), heart anteroposterior diameter (HAPD), and non-cardiac soft tissue measured at the level of maximum left ventricular diameter (LVmax). We compared the HCFs as calculated from CT parameters using different CC depths at 5 cm, 6 cm, 1/4 of EAPD, and 1/3 of EAPD, with further subgroup analysis stratified by sex and BMI.
Results: A total of 2927 eligible adult patients with contrast-enhanced chest CT were included. The study group had mean age of 60.1 ± 14.7 years, mean BMI of 22 ± 4.4 kg/m2, and were 57% males. The mean HCFs were 41.5%, 53.5%, 42.4%, and 62.6%, for CC depths of 50 mm, 60 mm, 1/4 of EAPD, and 1/3 of EAPD respectively. HCF was significantly lower in male patients for all CC depths. Advanced age and higher BMI showed significant correlation with lower HCF for CC depths of 50 mm and 60 mm.
Conclusion: The CC depth measure of 50-60 mm demonstrated efficacy in maintaining HCF and coronary perfusion in the general population except for geriatric and obese individuals. Adjusting CC depth to 1/4-1/3 of the EAPD yielded better outcomes. Future research should prioritize determining individualized CC depths based on EAPD proportion.

Pitsucha Sanguanwit, 
Nitima Saksobhavivat, 
Phatthranit Phattharapornjaroen, 
Pongsakorn Atiksawedparit, 
Phanorn Chalermdamrichai, 
Ratchanee Saelee, 
Pongthorn Jantataeme, 
Krittaya Na Petvicharn, 
Napas Lawantuksin, 
Possawee Paosaree, 
Patcharaporn Klongklaew, 
Aphichai Prakongsin, 
Dhawankorn Walanchaphruk, 
Pornpun Wattanaruengchai, 
Suwitchaya Surapornpaiboon, 
Maesaya Chartkul

Resusc Plus. 2024 Mar 23:18:100605.

Link
Article

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น นอกโรงพยาบาล โดยหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

บทนำ: ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (Out-of-hospital cardiac arrest, OHCA) เป็นปัญหาด้านสุขภาพสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตทั่วโลก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพ (Return of spontaneous circulation, ROSC) ในผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ของหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
วัสดุและวิธีการศึกษา: ศึกษาย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมดที่หัวใจหยุดเต้นก่อนถึงโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 1 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 ถึง วันที่ 30 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2566
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 151 ราย มีผู้ป่วยฟื้นคืนชีพหลังหัวใจหยุดเต้น จำนวน 39 คน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จ ได้แก่ ระยะเวลาที่ได้รับแจ้งเหตุจนถึงออกปฏิบัติการ ภายในเวลา 2 นาที (AOR = 3.01, 95% CI = 1.05-8.64, P = 0.04) ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจแรกรับสามารถกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (AOR = 9.29, 95% CI = 1.53-56.19, P = 0.0159) และระยะเวลารวมในการช่วยฟื้นคืนชีพ ภายในเวลา 10 นาที (AOR = 8.66, 95% CI = 1.43-52.24, P = 0.019)
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล มีจำนวน 3 ปัจจัย  ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยแพทย์ฉุกเฉินต่อไป

ทิพานันท์ เทพคง

มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 
31 ธันวาคม 2024;8(2):25-38.

Link